เมนู

4. ทุติยเวทนาสูตร


ว่าด้วยเวทนา 3 ประการ


[231] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร
นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา 3 ประการนี้ 3 ประการ
เป็นไฉน ? คือ สุขเวทนา 1 ทุกขเวทนา 1 อทุกขมสุขเวทนา 1 ดูก่อน-
ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดย
ความเป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็น
ทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นพระอริยะผู้เห็นโดยชอบ ตัดตัณหา
ขาดแล้ว ล่วงสังโยชน์แล้ว ได้กระทำแล้วซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ เพราะการละมานะ
โดยชอบ
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุใดได้เห็นสุขโดยความเป็นทุก
ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร ได้เห็น
อทุกขมสุขอันละเอียดโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยง ภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็นโดยชอบ

ย่อมหลุดพ้นในเวทนานั้น ภิกษุนั้นแลอยู่
จบอภิญญา ระงับแล้ว ก้าวล่วงโยคะ
ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบทุติยเวทนาสูตรที่ 4

อรรถกถาทาติเวทนาสูตร


ในทุติยเวทนาสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทุกฺขโต ทฏฺฐพฺพา ความว่า สุขเวทนาพึงเห็นด้วยญาณ-
จักษุว่าเป็นทุกข์ ด้วยอำนาจแห่งวิปริณามทุกข์. บทว่า สลฺลโต ทฏฺฐพฺพา
ความว่า ทุกขเวทนาพึงเห็นว่าเป็นเหมือนลูกศร เพราะความเป็นทุกขทุกข์
(เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้) โดยหมายความว่า นำออกไปได้ยาก คือโดย
ความหมายว่า รบกวนได้แก่ มีความหมายว่า บีบคั้นในภายใน. บทว่า
อนิจฺจโต ความว่า อทุกขมสุขเวทนา พึงเห็นว่าไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับ
ไม่มี เพราะมีการเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปในที่สุด เพราะเป็นของชั่วคราว และ
เพราะเป็นของขัดแย้งกับความเที่ยง.
ก็ในเรื่องเวทนานี้ ถึงเวทนาทั้งหมด ต้องเห็นโดยความเป็นของ
ไม่เที่ยงก็จริง แต่เพราะพระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า การเห็น
ทุกข์เป็นเครื่องหมายแห่งวิราคะ เป็นความยินดียิ่งกว่าการเห็นความไม่เที่ยง
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนาพึงเห็นโดยความเป็นทุกข์ ทุกข-